วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเพณีรับบัว

งานประเพณีรับบัว

งานประเพณีรับบัว
วันและเวลา : 11 ตุลาคม 2554
-

สถานที่ : วัดบางพลีใหญ่ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
หมวดหมู่ : งานเทศกาล
ข้อมูลโดย : admin
รายละเอียด :

ขอเชิญเที่ยวชมงานประเพณีรับบัว ประจำปี 2554 "หนึ่งเดียวในโลก แห่งเดียวในประเทศไทย" (One Traditional only of The word) นมัสการหลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์ ร่วมงานสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ จากอดีตสู่ปัจจุบัน ชมมหรสพสมโภช ลิเก ดนตรี ลูกทุ่งวงใหญ่ พรีตลอดงาน การออกร้านขายสินค้า ของกินของใช้ สินค้าต่าง ๆ มากมาย วันที่ 11 ตุลาคม 2554ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอบางพลี และบริเวณวัดบางพลีใหญ่ใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

  • ประวัติความเป็นมาของประเพณีรับบัว

ประเพณีรับบัวเป็นประเพณีเก่าแก่สิบทอดกันมาแต่โบราณ ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยจัดงานทุกวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี โดยในสมัยก่อน อำเภอบางพลี มีประชาชนอาศัยอยู่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ คนไทย คนลาว และคนรามัญ (ชาวมอญพระประแดง) ทุกกลุ่มชนต่างทำมาหากินและอยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่นเสมือนญาติมิตร

ประเพณีรับบัว เกิดขึ้นเพราะความมีน้ำใจที่ดีต่อกันระหว่างคนในท้องถื่นกับคนมอญพระประแดงซึ่งทำนาอยู่ที่ตำบลบางแก้ว ในช่วงออกพรรรษาจะกลับไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง ได้เก็บดอกบัวเพื่อบูชาพระหรือถวายแด่พระสงฆ์และฝากเพื่อนบ้าน

ในปีต่อมา ชาวอำเภอเมือง และชาวอำเภอพระประแดง ต่างพร้อมใจกันพายเรือมาเก็บดอกบัวที่อำเภอบางพลีและถือเป็นโอกาสอันดีในการนมัสการองค์หลวงพ่อโต อีกทั้งระยะทางระหว่างที่อำเภอพระประแดงกับอำเภอบางพลีไกลกันมาก เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินเรือแต่ละลำจะร้องรำทำเพลงมาตลอดเส้นทาง

สำหรับการแห่หลวงพ่อโตทางน้ำในประเพณีรับบัวที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ สืบเนื่องจาก พ.ศ. 2467 นางจั่นกับพวกชาวบางพลี ได้ร่วมสร้างองค์ปฐมเจดีย์ ณ วัดบางพลีใหญ่ในและจัดงานเฉลิมฉลองโดยแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ และวิวัฒนการมาเป็นแห่องค์หลวงพ่อโตจำลองอัญเชิญไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนได้นมัสการ ดอกไม้ที่ใช้นมัสการคือ ดอกบัว


                                                                 


งานประเพณีรับบัว-2 งานประเพณีรับบัว-3 งานประเพณีรับบัว-4 งานประเพณีรับบัว-5 งานประเพณีรับบัว-6 งานประเพณีรับบัว-7 งานประเพณีรับบัว-8 งานประเพณีรับบัว-9
ความรู้ทางขนธรรมเนียมประเพณี
ชื่อ
ภาค
จังหวัด
ระยะเวลา
ประเพณีรับบัว
ภาคกลาง
สมุทรปราการ
เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ถึง ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ก่อนออกพรรษา
ความสำคัญ
ประเพณีรับบัว-โยนบัว เป็นประเพณีท้องถิ่นซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย คือ ที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ด้วยเหตุที่แต่เดิมนั้น พื้นที่ในละแวกอำเภอบางพลีขึ้นชื่อว่า อุดมไปด้วยดอกบัวหลวง (Nelumbo nucifera Gaertn.) สะพรั่งไปทั่วทุกลำคลองหนองบึง เมื่อใกล้จะถึงวันทำบุญในช่วงออกพรรษา ชาวบ้านในอำเภอใกล้เคียงจึงมักพากันพายเรือมาเก็บดอกบัวไปถวายพระ ชาวบางพลีเห็นเช่นนั้นจึงอาสาเป็นผู้เก็บดอกบัวให้ ต่อมา เมื่อใกล้จึงวันออกพรรษาคราใด ชาวบางพลีจะพากันเก็บดอกบัวไว้คอยท่าเผื่อมีคนต่างถิ่นพายเรือมาขอรับดอกบัว นานวันนานปี จากน้ำใจของชาวบ้านบางพลี ก็กลายมาเป็นประเพณีรับบัว
พิธีกรรม
เล่ากันว่าแต่เดิมนั้น เมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านต่างอำเภอจะพากันพายเรือมาที่อำเภอบางพลี พร้อมกับร้องรำทำเพลงและประโคมเครื่องดนตรีกันอย่างครื้นเครงใครรู้จักคุ้นเคยกับบ้านไหน ก็จอดเรือขึ้นไปเยี่ยมเยียนกัน เจ้าของบ้านชาวบางพลีก็มักจะตระเตรียมข้าวปลาอาหาร อีกทั้งเครื่องดองของเมาไว้คอยต้อนรับ หากการเลี้ยงดูนั้นติดพันจนดึกดื่น เจ้าของบ้านก็อาจจะต้องปูเสื่อให้ผู้มาเยือนนอนค้างเสียด้วยกัน
เช้าวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันขึ้น 14 ค่ำ ถือเป็นวันรับบัว-โยนบัว ชาวบ้านจากต่างอำเภอจำนวนมากจะพากันพายเรือมาขอรับดอกบัวจากชาวบางพลี การให้และการรับดอกบัวจะกระทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับมือต่อมือ และก่อนที่จะยื่นดอกบัวให้นั้น ก็มักจะมีการพนมมืออธิษฐานเสียก่อน ด้วยถือว่าเป็นการทำกุศลร่วมกัน
ต่อมาประเพณีรับบัวได้เลือนหายไปแต่เมื่อนายชื้น วรศิริ ได้เป็นนายอำเภอบางพลีในระหว่าง พ.ศ. 2478-2481 จึงได้รื้นฟื้นประเพณีรับบัวขึ้นมาใหม่ มีการแต่งเรือประกวดประขันกัน เรือที่จัดเข้าประกวดในคราวนั้น มีการนำไม้ไผ่มาสานเป็นโครงรูปองค์พระพุทธรูปปิดหุ้มด้วยกระดาษทองตั้งมาบนเรือ สมมติว่าเป็นหลวงพ่อโตแห่งวัดบางพลีใหญ่ จึงกลายมาเป็นธรรมเนียมในปีต่อๆ มาในการอัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อโตจำลองลงเรือ ล่องมาตามคลองสำโรง เพื่อให้ชาวบางพลีทั้งสองฝั่งคลองถวายดอกบัวด้วยการโยนดอกบัวลงไปในลำเรือขณะเดียวกัน ลูกศิษย์หลวงพ่อโตบนเรือก็จะโยนข้าวต้มมัด (ข้าวเหนียว Oryza sativa L.) กล้วยน้ำว้า Musa (BBA)‘Kluai Namwa’?) ถั่วดำ Vigna mungo (L.) Hepper ถั่วเขียว Vigna radiata (L.) Wilezek.ให้ชาวบ้านสองฝั่งคลอง พร้อมทั้งร้องบอกถึงสรรพคุณสารพัดประโยชน์ของข้าวต้มมัดหลวงพ่อโต
ประเพณีรับบัวของชาวบางพลีแต่เดิม จึงกลายมาเป็นประเพณีโยนบัวจนกระทั้งทุกวันนี้
อ้างอิง
http://edunews.eduzones.com/eve123/3508?y=2008&m=2&d=27
www.m-culture.go.th/samutprakan/index.php?module=ContentExpress&func=print&ceid=31
http://personal.swu.ac.th/students/hm471010130/web/page17.htm
เต็ม สมิตินันทน์. 2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544
สอาด บุญเกิด จเร สดากร และ ทิพย์พรรณ สดากร 2543.ชื่อพรรณไม้ในเมืองไทย พ.ศ. 2543
 





ประเพณีโยนบัว เป็นงานประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่มากเป็น
ที่รู้จักของคนทั่วไปและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างดี วันจัดงานตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 คือก่อน
ออกพรรษา 1 วัน ที่จัดก่อนวันออกพรรษาเพราะวันออกพรรษาจะเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนทำบุญกัน แต่วันงานประเพณีโยนบัว
จะเป็นวันที่ทุกคนสนุกสนานรื่นเริงเปรียบเหมือนการเฉลิมฉลองก่อนเทศกาลออกพรรษา



เมื่อถึงวันงานประเพณี ประชาชนทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ และทั้งหญิงชายทุกหมู่บ้าน รวมไปถึงนักท่อง
เที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติจะพากันตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อมาชมงานแต่สำหรับคนที่เข้าร่วมงานคือเข้าร่วมขบวนแห่เรือด้วยก็จะแต่ง
การชุดไทยสวยงาม งานจะเริ่มตั้งแต่ 6 โมงเว้า เริ่มจากพิธีแห่ขบวนเรือ ล่องมาตามคลองบางพลีซึ่งจะตั้งต้นจากวัดบางพลีใหญ่
ล่องมา จนถึงที่ว่าการอำเภอ บางพลี เรือลำแรกที่เป็นหัวขบวนจะเป็นเรือพระโดยอัญเชิญหลวงพ่อโตประดิษฐาน มาในเรือ และมี
ฝีพายแจวเรือล่องมาอย่างช้า ๆเพื่อให้ประชาชนที่ยืนอยู่ตลอดสองฝั่งคลองได้โยนดอกบัวที่เตรียมมาลงในเรือพระและคนที่อยู่ในเรือ
ก็จะคอยรับเอาดอกบัวรวบรวมไปวางไว้หน้าตักหลวงพ่อโต เปรียบเสมือนกับการนำเอาดอกไม้มากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปนั่นเอง


นอกจากโยนดอกบัวลงในเรือแล้ว ยังมีบางคนโยนข้าวต้มมัดลงมาในเรือด้วยเพื่อให้ฝีพายและคนที่ร่วมอยู่ในขบวนแห่ได้กิน
แก้หิวกันไปพลางก่อนที่จะเสร็จพิธีขบวนเรือในพิธีนี้จะประกอบด้วยเรือพระที่เป็นหัวขบวนและมีเรือติดตามอีกสองสามลำ ต่อจากเรือ
ติดตามนี้จะเป็นเรือที่เข้าร่วมพิธีที่มาจากหมู่บ้านทั้ง 15 หมู่บ้านของตำบลบางพลี โดยแต่ละหมู่บ้านจะส่งเรือเข้าร่วมพิธีหมู่บ้านละ 3
ลำ ซึ่งนอกจากจะเข้าร่วมพิธีแห่แล้วยังถือเป็นการประกวดแข่งขันกันด้วย การประกวดเรือนี้ จะมีทั้งประเภทสวยงาม ความคิดและ
ตลกขบขัน แต่ละหมู่บ้านจึง พิถีพิถันในการแต่งเรือประกวดของตนให้สวยงามเป็นพิเศษ ทำให้ขบวนเรือแห่นี้เป็นขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่
สวยงามละลานตาเป็นที่ชื่นชอบและประทับใจแก่ผู้ที่เข้าชมงานมากจนเป็นที่กล่าวขวัญถึงอยู่เสมอ






การประกวดแข่งขันในประเพณีโยนบัวนี้นอกจากแข่งขันประกวดเรือแล้วยังมีการประอย่างอื่นอีกเพื่อเป็นการเพิ่มสีสันและ
ดึงดูดความสนใจแก่ผู้ร่วมงานรวมไปถึงนักท่องเที่ยว การประกวดแข่งขันเหล่านี้ ได้แก่ การประกวดแจวเรือ การแข่งขันกินข้าวต้มมัด
การแข่งขันชักคะเย่อเรือการแข่งขันพายเรือถัง และการประกวดขวัญใจแม่ค้า การประกวดแข่งขันต่าง ๆ นี้เปิดโอกาส ให้ทุกคนเข้า
ร่วมได้ เพราะสามารถจะส่งเข้าประกวดในนามตำบล หน่วยงานหรือบุคคลก็ได้ ทั้งยังไม่จำกัดอายุและเพศอีกด้วย ยกเว้นการประกวด
ขวัญใจแม่ค้าแต่อย่างไรก็ตามพิธีแห่ขบวนเรือและการประกวดแข่งขันกันนี้ ต้องเสร็จสิ้นก่อน 11 โมง เพราะแดดร้อนจัด ทำให้คนดู
และคนแข่งขันทนแดดไม่ไหว งานก็จะหมดสนุกจึงต้องเลิกงานก่อน 11 โมงเช้า


งานประเพณีโยนบัวนี้นอกจากจะมีพิธีเกี่ยวเนื่องกับศาสนาแล้วยังเป็นประเพณีที่นำเอาภูมิปัญญาไทยเสริมสร้างความสามัคคี
ให้เกิดในชุมชนด้วย เพราะการที่ประชาชนได้เข้าร่วมงานไม่ว่าจะในฐานะผู้ชมหรือผู้มีส่วนร่วมงานก็ตามล้วนทำให้เกิดพลังสามัคคี
ในหมู่บ้านของตนเกิดความภาคภูมิใจและความรักท้องถิ่น ส่วนการที่ให้มีการโยนบัวเพื่อสักการะพระพุทธรูป หรือ หลวงพ่อโตนั้น
ก็เป็นกลยุทธ์ในการส่งเสริมการค้าอย่างหนึ่ง เพราะในชุมชนจะมีนาบัวซึ่งมีดอกบัวจำนวนมาก เมื่อถึงวันงานประเพณีดอกบัวก็จะ
ขายได้ราคาดีขึ้น และขายได้ในจำนวนมากขึ้นด้วย เท่ากับเป็นการช่วยเหลือให้ผู้ทำนาบัวมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปกติปีละครั้ง เพื่อ
เป็นกำลังใจให้ประกอบอาชีพนี้ต่อไป


http://www.thaigoodview.com/node/46534

งานประเพณี รับบัว - โยนบัว
“เดือน ๑๑ น้ำนอง เดือน ๑๒ น้ำทรง เดือนอ้าย เดือนยี่ น้ำรี่ไหลลง”
ข้อความอันแสดงถึงวัฎจักรของธรรมชาตินี้ คนไทยภาคกลางที่สมัยก่อนมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำมักจะพูดกันในยามฤดูน้ำเหนือเริ่มไหลหลากลงมา ช่วงเดือน ๙ - เดือน ๑๐ ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นแล้วเอ่อล้นตลิ่งในเดือน ๑๑ - เดือน ๑๒ ตามลำดับ และนี่เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งว่างานประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยน้ำกำลังจะมาถึง ไม่ว่าจะงานบุญสารท เดือน ๑๐, งานปิดทองไหว้พระ, งานออกพรรษาที่มักจะมีการแข่งเรือรวมอยู่ด้วย และ งานบุญกฐิน-ผ้าป่า ต่างจะทยอยกันมาเพิ่มเติมความสุขความรื่นเริงให้กับชีวิตผู้คนที่สมัยนั้นเรื่องของความบันเทิงหาได้ไม่ง่ายเช่นทุกวันนี้
สำหรับชาวบางพลี สมุทรปราการ ซึ่งมีงานประเพณีรับบัวหรือโยนบัว สืบทอดกันมายาวนานเกือบร้อยปี กำลังจะได้เห็นภาพของความร่วมมือร่วมใจในการอัญเชิญหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ ประดิษฐานในเรือลำใหญ่แห่แหนไปตามลำคลองสำโรง เพื่อรับดอกบัวที่ชาวบ้านสองฟากฝั่งตระเตรียมไว้รอคอยที่จะโยนบัวนั้นไปบนเรือ เพื่อนมัสการหลวงพ่อโตอีกครั้ง ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ คือก่อนวันออกพรรษาหนึ่งวัน ตรงกับวันที่ ๑๗ ตุลาคม นี้เอง มีคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่าประเพณีอันดีงามนี้สืบเนื่องมาจากทุ่งบางพลีในยามหน้าน้ำสมัยก่อนนั้น มีดอกบัวหลวงอยู่มากมาย เรียกได้ว่าเป็นแหล่งดอกบัวที่ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ใกล้เคียงและชาวบางพลีเอง จะสามารถมาเก็บมาหาดอกบัวไปใช้ถวายพระในงานบุญออกพรรษา ได้ทั้งนั้นทำให้ชาวบางพลีผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และหวังในบุญกุศลร่วมกันก็จะช่วยจัดเก็บดอกบัวหลวงไว้แจกให้ชาวบ้าน โดยไม่ได้คิดมูลค่าอะไร ในวันก่อนออกพรรษา นี่เป็นสาเหตุเริ่มแรกของประเพณีที่เรียกว่ารับบัว และในสมัยก่อนนั้น ประชาชนที่อยู่ในแถบ อ.บางพลี จะมีอยู่สามพวก คือคนไทยเจ้าของพื้นที่กับคนลาวและคนมอญหรือที่เรียกว่ารามัญ แต่ละกลุ่มจะมีหัวหน้าควบคุมดูแล ต่อมาคนทั้งสามกลุ่มได้ปรึกษากัน แล้วร่วมใจกันหักร้างถางพงแยกออกไปคนละทิศ เพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกให้กลุ่มของตน ปรากฏว่าพวกมอญที่แยกไปทางลาดกระบังเพาะปลูกแล้วไม่ได้ผล นกหนูรบกวนจึงเตรียมตัวอพยพกลับปากลัดถิ่นเดิม โดยเริ่มอพยพในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษาหนึ่งวัน จึงได้เก็บดอกบัวไปด้วยมากมาย โดยบอกคนไทยที่คุ้นเคยกันว่าจะนำไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด ทั้งยังชักชวนว่าในปีต่อไป พอวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ละก็ให้คนไทยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตด้วยพวกตนจะมารับ พอถึงกำหนดวันนัดคนไทยก็เก็บรวบรวมดอกบัวไว้ที่บางพลีใหญ่ พวกมอญก็มารับดอกบัวตามที่ตกลงกันไว้ เวลาที่เขามารับบัวนั้น เขาจะมาด้วยเรือขนาดใหญ่จุคนได้ถึง ๕๐–๖๐ คน มีการร้องรำทำเพลง การละเล่นต่าง ๆ มาอย่างสนุกสนาน พวกที่คอยรับก็พลอยเล่นสนุกสนานไปด้วย ทั้งยังได้เตรียมอาหารคาวหวานไว้เลี้ยงดูกันอิ่มหนำสำราญดีแล้วพวกรามัญหรือคนมอญนี้จึงนำดอกบัวไปบูชาหลวงพ่อโตส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งนำกลับไปบูชาพระคาถาพันที่วัดของตนในวันออกพรรษา จากความร่วมแรงร่วมใจกันทำบุญและ เลี้ยงดูเล่นสนุกสนานร่วมกันทุกปีนี้เอง จึงมีผู้สันนิษฐานว่าคงจะก่อให้เกิดความคุ้นเคยอันส่งผลให้การรับ-ส่งบัวที่เคยรับส่งกันแบบยกมือพนมอธิษฐานแล้วจึงส่งให้มือต่อมือ เปลี่ยนรูปแบบไปบ้างอย่างที่เห็นในปัจจุบัน มีประวัติด้วยว่าประเพณีนี้จะเสื่อมสูญเหมือนกันถ้าไม่ได้นายชื้น วรศิริ นายอำเภอบางพลีในช่วงระหว่างปี 2478-2481 เห็นถึงความดีงามของประเพณีและได้ทำการฟื้นฟูส่งเสริมให้ยั่งยืนมาทุกวันนี้ และนับเป็นครั้งแรกที่ภาคราชการเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานประเพณีรับบัวของชาวบางพลี สำหรับปีนี้ทางอำเภอบางพลีจะจัดงานเพิ่มจากที่เคยจัดสองวันเป็นสามวัน โดยกำหนดเริ่มงานตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม ถึง 17 ตุลาคม
เรียบเรียงจาก : ชีวิตไทยชุดบรรพบุรุษของเรา : สวทช : 2540
เรื่องประกอบประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อโตนั้นมีตำนานเล่าว่าท่านเป็นพระพุทธรูปพี่น้องกันกับหลวงพ่อพุทธโสธร จ.ฉะเชิงเทรา และหลวงพ่อวัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม ซึ่งพระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้ต่างมีประวัติว่าลอยน้ำมา และได้รับการชักรั้งนิมนต์ขึ้นประดิษฐานตามวัดที่ท่านประสงค์จะประดิษฐานอยู่สำหรับหลวงพ่อโตตามประวัติก็ว่าท่านได้ลอยล่องมาโผล่ขึ้นที่บริเวณริมน้ำบางปะกง ต.สัมปทวน จ.ฉะเชิงเทรา ก่อน แล้วจมหายไป มาโผล่ให้เห็นอีกครั้งในแม่น้ำเจ้าพระยา เขตตำบลสามเสน ในครั้งนี้ได้มีประชาชนพยายามฉุดชักขึ้นฝั่งเหมือนกันแต่ไม่สำเร็จสุนทรภู่คงจะได้เห็นจึงแต่งไว้ในนิราศภูเขาทอง จากนั้นมาโผล่อีกครั้งที่บริเวณปากคลองสำโรง จ.สมุทรปราการ ชาวบ้านก็พยายามกราบไหว้อาราธนานิมนต์ขึ้นฝั่งเหมือนกันก็ยังไม่สำเร็จ จนต้องต่อแพผูกไว้กับองค์ท่าน เพื่อไม่ให้จมหายไปอีกและได้อธิษฐานบนบานว่า หากท่านประสงค์จะขึ้นฝั่งที่ใดก็ขอให้แพที่ผูกโยงท่านไว้นั้นไปหยุดที่นั่น แพก็ได้ลอยไปหยุดที่วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม ชาวบ้านกับพระสงฆ์ จึงร่วมกันอัญเชิญองค์พระขึ้นที่ท่าน้ำหน้าวัดได้เป็นผลสำเร็จวัดพลับพลาชัยชนะสงครามก็คือวัดบางพลีใหญ่ที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตในปัจจุบันนี้เอง

ข้อมูลจาก : บทความพิเศษ ประกอบรายการของสถานีวิทยุ อสมท. เรื่อง "งานประเพณี รับบัว - โยนบัว" ผลิตโดย ส่วนสนับสนุนการผลิตวิทยุ งานบริการการผลิต ฝ่ายออกอากาศวิทยุ กรุงเทพhttp://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=694


ประเพณีรับบัว



จังหวัด สมุทรปราการ
ช่วงเวลา
ริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา

ความสำคัญ
ระเพณีรับบัวเป็นประเพณีประจำท้องถิ่น ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมิได้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่ยุคใดสมัยใด
ประเพณีรับบัวนี้มีข้อสันนิษฐานความเป็นมาได้ ๓ ประการ


ประการแรก
ในสมัยก่อนในแถบอำเภอบางพลี มีประชากรอาศัยอยู่ ๓ พวกคือ คนไทย รามัญ และลาว แต่ละพวกจะมีหัวหน้าคอยควบคุมดูแลและทำมาหากินในอาชีพต่างๆกัน ซึ่งชาวรามัญในสมัยนั้นจะขุดบ่อเลี้ยงปลาเป็นอาชีพต่อมาทั้งคนไทย รามัญและลาว ทั้ง ๓ พวกก็ปรึกษาหารือกันว่าสมควรจะช่วยกันหักล้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อทำไร่ทำสวนต่อไป บริเวณนี้แต่ก่อนเต็มไปด้วยป่าพงอ้อ พงแขมและไม้นานาชนิดขึ้นเต็มไปหมด ฝั่งทางตอนใต้ของลำคลองสำโรงก็เต็มไปด้วยป่าแสม น้ำก็เป็นน้ำเค็ม ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้ายนานาชนิดทางฝั่งตอนเหนือก็เต็มไปด้วยบึงขนาดใหญ่ ภายในบึงแต่ละบึงก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยบัวหลวงมากมาย พวกคนไทย รามัญและลาว ก็พยายามหักล้างถางพงเรื่อยมาจนถึงทางแยก ๓ ทางคือ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นคลองสลุด ทางเหนือเป็นคลองชวดลากข้าว และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นคลองลาดกระบัง คนทั้ง ๓ พวกก็ตกลงกันว่าควรจะแยกย้ายกันทำมาหากินคนละทางจะดีกว่าเพื่อที่จะได้รู้ภูมิประเทศว่าด้านไหนจะทำมาหากินได้คล่องดีกว่ากัน เมื่อตกลงดังนั้นแล้วจึงแยกทางกันไปทำมาหากิน โดยพวกลาวไปทางคลองสลุด ไทยไปทางคลองชวดลากข้าว พวกรามัญไปทางคลองลาดกระบัง พวกรามัญทำมาหากินอยู่ประมาณ ๒-๓ ปี ก็ไม่ได้ผลเพราะนก หนู ชุกชุมรบกวนพืชผลต่างๆจนเสียหายมากมาย เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผลพวกรามัญก็ปรึกษาเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมที่ปากลัด (พระประแดง) เริ่มอพยพกันในตอนเช้ามืดของเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ก่อนไปก็ได้ไปเก็บดอกบัวในบึงบริเวณนี้มากมาย คนไทยที่คุ้นเคยกับพวกรามัญก็ไต่ถามว่าเก็บดอกบัวไปทำไมมากมายเพียงนี้พวกรามัญก็บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพัน (เทศน์มหาชาติ) ที่ปากลัด และได้สั่งเสียกับคนไทยที่รักและสนิทสนมชิดชอบว่าในปีต่อมาเมื่อถึงเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ให้ช่วยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตนี้ด้วยพวกตนจะมารับ ด้วยนิสัยคนไทยนั้นชอบโอบอ้อมอารีรักพวกพ้องจึงตอบตกลง จากนั้นพวกชาวรามัญก็นมัสการหลวงพ่อโตพร้อมทั้งขอน้ำมนต์หลวงพ่อโตไปเพื่อเป็นศิริมงคลและลากลับถิ่นฐานเดิมที่ปากลัดและนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพันปีต่อมาพอถึงกำหนดเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ คนไทยบางพลีก็รวบรวมดอกบัวไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ตามคำขอร้องของชาวรามัญ พวกชาวรามัญก็จะมารับดอกบัวทุกปี การมาจะมาในเวลากลางคืน มาโดยเรือขนาดจุ ๕๐-๖๐ คน จะมาถึงวัดประมาณตี ๑-๔ ของทุกครั้งที่มาและมีการตีฆ้องร้องเพลงตลอดทางอย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งมีการละเล่นต่างๆในเรือ ผู้ที่คอยต้อนรับก็พลอยสนุกสนานไปด้วยไมตรีจิตอันดียิ่ง คนไทยได้ทำอาหารคาวหวานต่างๆเลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหารกันเมื่ออิ่มหนำสำราญแล้วก็นำดอกบัวไปมนัสการหลวงพ่อโต จากนั้นก็นำดอกบัวกลับไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด

ประการที่สอง
ชาวรามัญที่ปากลัด (พระประแดง) มาทำนาอยู่ที่อำเภอบางพลี (ตำบลบางแก้ว) ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่าเป็นชาวรามัญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนีย์) ในสมัยกรุงธนบุรี การอพยพของชาวรามัญครั้งนี้เนื่องจากพระเจ้ามังระ คิดจะมาตีกรุงธนบุรี จึงเกณฑ์พวกรามัญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาช่วยรบ ชาวรามัญนั้นได้รับการกดขี่ข่มเหงจิตใจถูกฆ่าลูกเมีย ชาวรามัญจึงกบฏต่อพม่าโดยรวมตัวกันไปตีพม่าแต่สู้พม่าไม่ได้ ก็หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบารมีต่อพระเจ้าตากสินมหาราชและได้นำเอาปี่พาทย์มอญเข้ามาด้วยเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พวกรามัญไปตั้งภูมิลำเนาที่ปากเกล็ด แขวงนนทบุรี และปากโคก แขวงปทุมธานี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงโปรดเกล้าฯให้ย้ายครอบครัวชาวรามัญและพระยาเจ่ง มาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์(พระประแดง) ในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ และต่อมาชาวรามัญได้ทำความดีความชอบได้รับพระราชทานที่นาที่บางพลี จึงเป็นเหตุให้ชาวรามัญมาทำนาที่บางพลี ชาวรามัญนั้นจะมาเฉพาะฤดูทำนา เมื่อเสร็จสิ้นการทำนาก็จะกลับที่ปากลัด เมื่อออกพรรษาชาวปากลัดที่มีเชื้อสายรามัญส่วนใหญ่เป็นผู้เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาก็จะกลับไปทำบุญที่วัดบ้านของตน เมื่อกลับก็จะไปเก็บดอกบัวที่ตำบลบางพลีใหญ่ซึ่งมีมากมายในสมัยนั้นไปประกอบเป็น "ดอกไม้ธูปเทียน" ในการทำบุญที่มีการเทศน์คาถาพันส่งท้ายพรรษา ครั้งแรกก็เก็บกันเองต่อมาชาวอำเภอบางพลีเห็นว่าชาวรามัญมาเก็บดอกบัวทุกปี ในปีต่อๆมาจึงเก็บดอกบัวเตรียมไว้ให้ตามนิสัยคนไทยที่ชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ระยะแรกก็ส่งให้กับมือมีการไหว้ขอบคุณ ต่อมาเกิดความคุ้นเคยถ้าใกล้ก็ส่งมือต่อมือ ถ้าไกลก็โยนให้จึง เรียกว่า "รับบัว โยนบัว"

ประการที่สาม
เดิมทีเดียวที่ตำบลบางพลีใหญ่ในเป็นตำบลที่มีดอกบัวมาก อำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงเช่น อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง และอำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อถึงวาระต้องบำเพ็ญกุศลในเทศกาลออกพรรษาก็มาเก็บดอกบัวที่นี่ เพราะถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธเจ้าเวลาประทับนั่งยืน เดิน จะมีดอกบัวรองรับเสมอ อีกประการหนึ่งในเรื่องพระมาลัยได้กล่าวว่ามีชายเข็ญใจคนหนึ่งได้ถวายดอกบัวแก่พระมาลัย ยังไปเกิดเป็นเทพบุตรได้ ดังนั้นในสมัยโบราณคนจึงนิยมถวายดอกบัวแก่พระในวันออกพรรษาถือว่าได้บุญกุศลแรงมาก ถึงกับลงทุนนอนค้างอ้างแรมยังตำบลนี้เพื่อเก็บดอกบัว ในสมัยแรกๆ คงเที่ยวหาเก็บกันเองแต่ในสมัยต่อมาชาวบางพลีก็จะเตรียมเก็บไว้เพื่อเป็นการทำกุศลร่วมกันเท่านั้น


พิธีกรรม

อถึงวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ตั้งแต่ตอนเย็นชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการ ชาวพระประแดง และชาวต่างถิ่นจะชักชวนพวกพ้องเพื่อนฝูงลงเรือพร้อมด้วยเครื่องดนตรีนานาชนิดเช่น ซอ ปี่ กระจับ โทน รำมะนาโหม่ง กรับ ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น พายกันไปร้องรำทำเพลงกันไปตลอดทาง ตลอดคืน ซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำน้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่นๆเข้าคลองสำโรงและมุ่งหน้ามายังหมู่บ้านบางพลีใหญ่สำหรับชาวบางพลีนั้นจะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ก็จะต้องเตรียมหาดอกบัวหลวง สำหรับมอบให้แก่ชาวบ้านที่ต้องการและมิตรต่างถิ่นมาเยือนในโอกาสเช่นนี้ ก็คงแสดงมิตรจิตออกต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกันตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ส่วนพวกที่มารับบัวคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพาขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้ และต่างก็สนุกสนานร้องรำทำเพลงและร่วมรับประทานอาหารสุรากันตลอดคืน พอเช้าตรู่ของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ชาวบ้านต่างก็นำเรือของตนออกไปตามลำคลองสำโรงเพื่อไปขอรับบัวจากชาวบ้านบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และการรับดอกบัวก็จะทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับกันมือต่อมือ หรือก่อนให้จะยกมือพนมอธิษฐาน เสียก่อนระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวต่างถิ่นที่สนิทสนมคุ้นเคยกันป็นพิเศษ บางทีชาวบางพลีก็จะโยนดอกบัวลงไปให้กันโดยไม่มีพิธีรีตอง เหตุที่มีการโยนบัวให้กัน แบบมือต่อมือจึงเลือนไปจนมีการนำไปพูดกันตอนหลังว่า รับบัว โยนบัว การรับดอกบัวของชาวต่างบ้านจากชาวบางพลีจะสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ ๐๘.๐๐ น. หรือ ๐๙.๐๐ น. และชาวบ้านก็จะพากันกลับ ตอนขากลับจะมีการแข่งเรือกันไปด้วยแต่เป็นการแข่งขันโดยมีเส้นชัย ไม่มีกรรมการตัดสินและไม่มีการแบ่งประเภทหรือชนิดของเรือ ใครพอใจจะแข่งกับใครเมื่อไหร่ที่ใดก็แข่งกันไปหรือจะเปลี่ยนคู่เปลี่ยนคู่แข่งกันไปเรื่อยๆตามแต่จะตกลงกันดอกบัวที่ชาวต่างถิ่นรับจากชาวบางพลีไปนั้นจะนำไปบูชาในเทศกาลออกพรรษาตามวัดในหมู่บ้านของตน
ประเพณีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ครั้นนานมาชาวต่างถิ่นที่นำเรือมารับดอกบัวจากชาวบางพลีมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ เสียงกระจับ ปี่ สีซอ กลองรำมะนา เสียงเพลงเสียงเฮฮาที่เคยเซ็งแซ่ตามลำคลองสำโรงในคืนวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ก็ค่อยๆเงียบหายไป
ต่อมาสมัยนายชื้น วรศิริ (เพชรบูรณะ วรศิริ) เป็นนายอำเภอบางพลี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๘๑ ประเพณีรับบัวมีทีท่าว่าจะเสื่อมสูญไปนั้น ได้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง เมื่อได้หารือกับพ่อค้าคหบดีตลอดจนข้าราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางอำเภอบางพลีจึงได้ตกลงกันดำเนินการจัดงานประเพณีรับบัวขึ้นคือ เริ่มงานวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ และรุ่งขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันรับบัวอันเป็นครั้งแรกที่ทางราชการเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีรับบัวของชาวบางพลี
ในการจัดงานประเพณีรับบัวของทางราชการอำเภอบางพลี มีการแต่งเรือประกวด เริ่มมีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ (แต่ก่อนชาวต่างถิ่นจะตกแต่งเรือมาเพียงเพื่อความสวยงามแต่ไม่มีการประกวด) ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ช่วยกันหาดอกบัวแจกข้าวต้มมัดแก่แขกต่างบ้านและผู้จัดเรือประกวดในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ประชาชนต่างถิ่นและชาวอำเภอบางพลีจะลงเรือล่องไปตามลำคลองสำโรง ร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานร่วมกัน ชาวบางพลีจะจัดสุราอาหารไว้ต้อนรับแขกต่างบ้าน ชาวต่างถิ่นคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวอำเภอบางพลีคนใดบ้านใดก็จะพากันไปเยี่ยมเยือน สนุกสนานกับชาวบางพลีบ้านนั้นจนรุ่งเช้า วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ต่างก็จะพากันไปดูการประกวดที่คลองสำโรงหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี
ในการจัดงานประเพณีรับบัวมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ มีการแห่หลวงพ่อโต ซึ่งแต่เดิมยังมิได้มีการแห่ดังเช่นสมัยนี้ ในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๗ นางจั่นกับพวกได้พร้อมใจกันสร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้น ในวัดบางพลีใหญ่ใน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็จัดให้มีการฉลองโดยแห่องค์พระปฐมเจดีย์นี้ตามลำคลอง แล้วกลับมาห่มองค์พระปฐมเจดีย์กลางคืนก็จัดให้มีมหรสพสมโภช แห่ไปได้ ๒-๓ ปี ก็หยุดไปด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ซึ่งเชื่อว่าการแห่ผ้าห่อองค์พระปฐมเจดีย์นี้ได้รับแบบอย่างมาจากการแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ของอำเภอเมืองสมุทรปราการ ต่อมาก็มีการแห่รูปหลวงพ่อโตแทน โดยความเห็นชอบของท่านสมภารกุ่ย และนายฉลวย งามขำ แห่รูปภาพของหลวงพ่อโตมาหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ก็มีการทำหุ่นจำลองหลวงพ่อโต สานด้วยโครงไม้ปิดกระดาษทาสีทอง แล้วนำแห่แทนรูปภาพของหลวงพ่อโต ซึ่งสร้างโดยนายไสว โตเจริญ ตกกลางคืนก็มีงานมหรสพฉลองกันอย่างครึกครื้นจนถึงสมัยพระครูพิศาลสมณวัตต์เป็นเจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ในก็ได้จัดให้ทำการหล่อรูปหลวงพ่อจำลองขึ้น สำหรับแห่ตามลำคลองด้วยอลูมิเนียมใน พ.ศ. ๒๔๙๗ และปัจจุบันแห่โดยรูปหล่อจำลองหลวงพ่อโต (รูปปั้น) โดยจัดเป็นขบวนแห่ไปตามลำคลองสำโรงในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นการประกาศข่าวงานรับบัวให้ประชาชนทราบและวิธีนี้กลายเป็นประเพณีแห่หลวงพ่อโตก่อนวันงานรับบัว คือ วัน ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ตลอดจนถึงปัจจุบัน การแห่หลวงพ่อโตจึงเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีรับบัว ประชาชนที่อยู่สองฝั่งคลองสำโรงที่ขบวนแห่หลวงพ่อโตผ่านจัดประดับธงทิว ตกแต่งบ้านเรือนและตั้งโต๊ะหมู่บูชา พอเช้าวันรุ่งขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ มีการประกวดเรือประเภทต่างๆของตำบลใกล้เคียงและโรงเรียนส่งเข้าประกวด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ มีการจัดประกวด ปัจจุบันการประกวดเรือมี ๓ ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทสวยงาม ประเภทความคิด และประเภทขบขันหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น.และงานจะสิ้นสุดลงเวลา ๑๑.๐๐ น. ของวันเดียวกัน ในบางปีจัดให้มีการประกวดเทพีการแข่งเรือ หรืออย่างอื่นแล้วแต่คณะกรรมการ จัดงานรับบัวแต่ละปีจะพิจารณาเห็นสมควร ส่วนการร้องรำทำเพลงไปตามลำน้ำดูหายๆไปจนปัจจุบันไม่มีแล้ว คงเที่ยวสนุกสนานกันตามบริเวณที่จัดให้มีมหรสพเท่านั้น

สาระ
"
การเป็นผู้มีน้ำใจไมตรี" เป็นลักษณะเด่นของคนไทยประการหนึ่ง เราคงไม่ปฏิเสธกันว่าคนไทยเป็นผู้ที่ร่ำรวยน้ำใจ ยากที่จะหาประชากรในประเทศใดในโลกเทียมได้ แม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยอมรับในความมีน้ำใจไมตรีของคนไทยเช่นกัน จนได้ให้สมญาประเทศไทยว่า "สยามเมืองยิ้ม" ดังเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วนั่นเอง และชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการมีสิ่งหนึ่งที่ช่วยยืนยันถึงความเป็นผู้มีน้ำใจไมตรีของคนไทยเช่นกัน สิ่งนั้นคือมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษของชาวบางพลีได้มอบไว้ให้ลูกหลานของตน นั่นคือ "ประเพณีรับบัว" ประเพณีรับบัว เป็นประเพณีเก่าแก่ที่เกิดและจัดขึ้นในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มาช้านานแต่เพิ่งปรากฏหลักฐานในราว พ.ศ. ๒๔๖๗ ว่าเดิมจัดในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี และจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวอำเภอบางพลี ได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับประเพณีรับบัวว่า "ในสมัยก่อนโน้น อำเภอบางพลี มีดอกบัวมากมายตามลำคลอง หนองบึงต่างๆเป็นที่ต้องการของพุทธศาสนิกชน ในอันที่จะนำไปบูชาพระ เหตุที่เกิดประเพณีรับบัว เกิดจากชาวอำเภอพระประแดง และชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการ ที่เป็นชาวมอญ ต้องการนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพันและบูชาพระในเทศกาลออกพรรษา ดังนั้นเมื่อถึงวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ประชาชนทั้งสองอำเภอนี้ ได้ชักชวนกันพายเรือมาตามลำคลองสำโรงเพื่อมาเก็บดอกบัว เมื่อเก็บได้เพียงพอแล้วก็จะเดินทางกลับบ้านของตนในวันรุ่งขึ้น (ขึ้น ๑๔ ค่ำ) ต่อมาชาวอำเภอบางพลี มีน้ำใจที่จะอำนวยความสะดวกให้ในฐานะที่ตนเป็นเจ้าของบ้าน เมื่อถึงวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ก็จะร่วมแรงร่วมใจกันเก็บดอกบัวและเตรียมอาหารคาวหวานไว้เพื่อรอรับชาวอำเภอพระประแดงและชาวอำเภอเมืองฯ เช้าตรู่ของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ขบวนเรือพายของชาวอำเภอพระประแดงและชาวอำเภอเมืองฯก็จะมาถึงหมู่บ้านบางพลีใหญ่ เมื่อรับประทานอาหารที่ชาวอำเภอบางพลีเตรียมไว้ต้อนรับจนอิ่มหนำสำราญดีแล้ว ก็จะพายเรือไปตามลำคลองสำโรง เพื่อขอรับดอกบัวจากชาวอำเภอบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การส่งมอบดอกบัวจะทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับบัวกันมือต่อมือ โดยผู้ให้และผู้รับพนมมือตั้งจิตอธิษฐานอนุโมทนาผลบุญร่วมกัน การกระทำเช่นนี้เองจึงได้ชื่อว่าการ "รับบัว" เมื่อปฏิบัติติดต่อกันหลายๆปี จึงได้กลายเป็น "ประเพณีรับบัว" ไปในที่สุด"
นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๘ ถึงปัจจุบัน ชาวอำเภอบางพลีต่างยังไม่แน่ใจว่าตนโชคดีหรือโชคร้ายกันแน่ที่พื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ได้กลายเป็นจุดที่นักลงทุน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจที่จะมาลงทุนทำกิจการต่างๆ เนื่องจากพวกเขาเห็นว่า อำเภอบางพลี อยู่ใกล้กับกรุงเทพฯการคมนาคมสะดวกและเป็นแหล่งที่สามารถรองรับความเจริญจากกรุงเทพฯ ได้โดยตรง จึงได้พากันมาลงทุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่มาก ปัจจุบันอำเภอบางพลีมีโรงงานอุตสาหกรรมเกือบ ๘๐๐ แห่ง นอกจากนี้หมู่บ้านจัดสรรก็ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด สนามกอล์ฟ ขนาดใหญ่หลายแห่ง มีไว้เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้มีอันจะกินเพียงระยะเวลาไม่ถึง ๑๐ ปี สภาพของอำเภอบางพลี เปลี่ยนไปราวกับหน้ามือเป็นหลังมือ จากสังคมชนบทที่ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีความสุขตามอัตภาพ กลายเป็นสังคมเมืองอุตสาหกรรม ชาวบ้านหลายครอบครัวได้กลายเป็น "เศรษฐีใหม่"ภายในพริบตา โดยการขายที่ดินให้กับนักลงทุนในราคาสูงลิ่ว ปัจจุบันสภาพสังคมในอำเภอบางพลี ไม่แตกต่างไปจากสังคมกรุงเทพฯเท่าใดนัก ทั้งด้านค่าครองชีพ การจราจร การแข่งขันประกอบธุรกิจ ฯลฯ ในสภาวะเช่นนี้แม้แต่ชาวบางพลีที่เป็นคนเก่าแก่เองก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีส่วนทำให้ประเพณีรับบัวเปลี่ยนรูปโฉมจากเดิม กล่าวกันว่า "ประเพณีรับบัวก็เปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตอื่นๆในอำเภอบางพลีที่ต้องมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน เพื่อมิให้ตนต้องสูญหายไปจากโลกนี้"

http://personal.swu.ac.th/students/hm471010130/web/page17.htm

ประเพณีรับบัวโยนบัวเป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมิได้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่ยุคใดสมัยใด มีข้อสันนิษฐานความเป็นมาจากผู้เฒ่าผู้แก่บางพลีว่า เกิดขึ้นประมาณ 80 ปีมาแล้ว เพื่อเป็นการนมัสการหลวงพ่อโต เล่ากันว่าเป็นพี่น้องกับหลวงพ่อโสธรแปดริ้ว และหลวงพ่อวัดบ้านแหลมสมุทรสงคราม
ตำนานกล่าวว่า หลวงพ่อโตลอยตามน้ำเจ้าพระยา มาหยุดที่ปากคลองสำโรงลอยอยู่แถวๆ นั้น เป็นการแสดงเจตจำนงอันแน่วแน่ว่าจะจำพรรษาอยู่ละแวกนั้นอย่างแน่นอน ชาวบ้านจึงช่วยกันชักรั้งนิมนต์เข้ามาจนถึงวัดบางพลีใหญ่ใน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปัจจุบัน แล้วอัญเชิญขึ้นไว้ในโบสถ์ หลวงพ่อโตจึงเป็นหลวงพ่อของชาวบางพลีตั้งแต่นั้นมา
หลังจากนั้นทุกๆ ปี ชาวบางพลีจะนิมนต์หลวงพ่อขึ้นเรือ แล่นไปให้ชาวบ้านได้นมัสการ โดยครั้งแรกทำเป็นรูปจำลองโดยเอาไม้ไผ่มาสานเป็นโครงรูปองค์พระพุทธรูป ปิดหุ้มด้วยกระดาษทอง ชาวบ้านจะพากันคอยนมัสการหลวงพ่ออยู่ริมคลอง ต่างก็จะเด็ดดอกบัวริมน้ำ แล้วโยนเบาๆ ขึ้นไปบนเรือหลวงพ่อ
การรับบัวโยนนี้แต่เดิมคงเล่นกันมาก่อนที่จะกลายเป็นประเพณีนมัสการหลวงพ่อโต เพราะตามคำเล่าต่อๆ กันมาเล่าว่า ในสมัยก่อนท้องที่อำเภอบางพลี เป็นแหล่งที่มีดอกบัวหลวงชุกชุมและมีมากในฤดูฝน ดังนั้น การบำเพ็ญกุศลในเทศกาลออกพรรษา ประชาชาชนต่างท้องที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับอำเภอเมืองบางพลี โดยเฉพาะชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการกับชาวอำเภอพระประแดง จึงพากันไปหาดอกบัวหลวงในท้องที่อำเภอบางพลี
ในสมัยแรกๆ คงจะไปเที่ยวเก็บกันเองตามลำคลองหนองบึงต่างๆ แต่ในสมัยต่อมา ชาวบางพลีได้เก็บหรือจัดเตรียมดอกบัวหลวงไว้สำหรับแจกชาวต่างบ้านที่ต้องการโดยไม่คิดมูลค่าเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่กันหรือเพื่อหวังบุญกุศลร่วมกัน อันกลายมาเป็นประเพณีที่เรียกว่า "รับบัว"
แต่ปัจจุบันนี้ชาวต่างท้องที่ดูจะไม่สนใจที่จะไปหาดอกบัวหลวงที่ท้องอำเภอบางพลีเหมือนสมัยก่อน ทางราชการอำเภอบางพลีก็คงจัดให้มีการรับบัวขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมประเพณีดั้งเดิมให้คงอยู่ต่อไป
ในสมัยก่อนนั้นในแถบอำเภอบางพลี มีประชาชนอยู่อาศัยเป็น 3 พวก คือ คนไทย รามัญ และคนลาว แต่ละพวกก็มีหัวหน้าควบคุมดูแล และทำมาหากินต่างกัน ต่อมาทั้ง 3 กลุ่มได้ปรึกษาที่จะร่วมแรงร่วมใจกันหักร้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อทำไร่และทำสวนต่อ และเมื่อถางป่ามาถึงทาง 3 แยก ซึ่งตกลงกันจะแยกทำมาหากินไปคนละทาง
พวกรามัญที่แยกกันไปทำมาหากินทางคลองลาดกระบังทำอยู่ได้ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผล เพราะนกและหนูชุกชุมรบกวน จนพืชผลเสียหายมาก เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผล พวกรามัญก็ปรึกษากันเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมคือปากลัด และเริ่มอพยพในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปได้เก็บดอกบัวในบึงบริเวณนั้นไปมากมาย คนไทยที่คุ้นกับพวกรามัญก็บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด และชักชวนคนไทยที่รักและสนิทชิดชอบกันว่าในปีต่อไป พอถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้คนไทยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตด้วย แล้วพวกตนจะมารับ
ในปีต่อมา พอถึงกำหนดเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ คนไทยก็ช่วยกันเก็บดอกบัว รวบรวมไว้ที่บางพลีใหญ่ในตามคำขอร้องของพวกรามัญ พวกรามัญก็มารับดอกบัวไปทุกปี
พวกรามัญที่มารับดอกบัวนั้นมาโดยเรือขนาดใหญ่จุคน 50-60 คน โดยจะมาถึงตี 3-4 และเมื่อมาถึงวัดก็ตีฆ้องร้องรำทำเพลงและการละเล่นต่างๆ อย่างสนุกสนาน พวกที่มาคอยรับพลอยเล่นกันสนุกสนานไปด้วย และคนไทยจึงได้เตรียมอาหารคาวหวานไปเลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหารกัน เมื่ออิ่มหนำสำราญดีแล้วพวกรามัญนำดอกบัวไปบูชาหลวงพ่อโต และนำน้ำมนต์ของหลวงพ่อกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนดอกบัวที่เหลือพวกรามัญก็นำกลับไปบูชาพระคาถาพัน ที่วัดของตนต่อไป นี่เป็นที่มาของประเพณีรับบัวที่รับรู้และปฏิบัติสืบต่อกันมา
สำหรับประชาชนทั่วไป ทั้งชาวต่างบ้านและชาวบางพลีเองก็จะไปเที่ยวดูงานโยนบัวและรับบัว และเที่ยวดูการละเล่น หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ทางอำเภอจัดขึ้น เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินเท่านั้น พอถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการและชาวอำเภอพระประแดงจะชักชวนพวกพ้องเพื่อนฝูงพากันลงเรือเป็นเรือพายบ้าง เรือแจวบ้าง ลำเล็กบ้าง ลำใหญ่บ้าง และต่างก็นำเครื่องดนตรีต่างๆ ไปด้วย เช่น ซอ ปี่กระจับ โทน รำมะนา โหม่ง กรับ ฉิ่งฉาบ เป็นต้น แล้วแต่ใครจะถนัด หรือมีเครื่องดนตรีชนิดไหน พายกันไป แจวกันไป ร้องรำทำเพลงกันไป เป็นที่สนุกสนาน ตลอดระยะทาง และเป็นเช่นนี้ตลอดคืน ซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำแม่น้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่นๆ เข้าคลองสำโรงและมุ่งไปยังหมู่บ้านบางพลีใหญ่
สำหรับชาวบางพลีก็จะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็จะต้องหาดอกบัวหลวง สำหรับไว้มอบให้แก่ชาวต่างบ้านที่ต้องการมิตรต่างบ้านมาเยือนในโอกาสเช่นนั้นก็แสดงมิตรจิตต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกัน ตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ส่วนพวกที่มารับบัว คนใดที่รู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพากันขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้
ต่างก็จะสนุกสนานร้องรำทำเพลงและรับประทานสุรา อาหาร ร่วมกันตลอดคืน พอเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวต่างบ้านก็จะนำเรือของตนไปตามลำคลองสำโรง และไปขอรับบัวจากชาวบ้านบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และรับดอกบัวก็จะกระทำอย่างสุภาพคือส่งและรับกันมือต่อมือหรือก่อนจะให้กันยกมือพนมอธิษฐานเสียก่อน ระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวบ้านต่างที่สนิทสนมคุ้นเคยกันนี้เอง เมื่อนานเข้าก็ค่อยกลายเป็นความนิยมกันเป็นการทั่วไปการให้และรับกันแบบมือต่อมือจึงเปลี่ยนไปจนมีการนำมาพูดในตอนหลังว่า "โยนบัว" แทนคำว่า "รับบัว"
การรับดอกบัวของชาวต่างบ้านจากชาวบางพลีจะสิ้นสุดลงเมื่อเวลา 08.00 น. หรือ 09.00 น. และชาวต่างบ้านก็จะพากันกลับ ตอนขากลับนี้จะมีการแข่งเรือกันไปด้วย แต่เป็นการแข่งกันโดยไม่มีเส้นชัย ไม่มีกรรมการตัดสินและไม่มีการแบ่งประเภท หรือชนิดของเรือ ใครพอใจจะแข่งกับใคร เมื่อไร ที่ใด ก็แข่งขันกันไป หรือเปลี่ยนคู่แข่งขันไปเรื่อยๆ ตามแต่จะสะดวกหรือตกลงกัน
ดอกบัวที่ชาวต่างบ้านได้รับจากชาวบางพลีนั้นก็จะนำไปบูชาพระในวันเทศกาลออกพรรษาตามวัดในหมู่บ้านของตน ส่วนใหญ่จะนำไปบูชาพระสมุทรเจดีย์ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองสมุทรปราการ.
http://www.thaipost.net/tabloid/020912/61814
ประเพณีรับบัว โยนบัวเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวบางพลี จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11
การจัดงานประกอบด้วยการนมัสการและขบวนแห่หลวงพ่อโต ทั้งทางบกและทางน้ำ การแข่งขันกิจกรรมพื้นบ้าน อาทิ การจัดพานดอกบัว มีการประกวดเรือประเภทต่างๆ และการแสดงการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เพลงเรือ
ในช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 จะเป็นงานประเพณีการรับบัวหรือโยนบัว โดยประชาชนจะโยนดอกบัวลงในเรือขบวนแห่พระพุทธรูปจำลองของหลวงพ่อโต ในขณะเดียวกันชาวบางพลีก็จะโยนบัวให้กับคนต่างบ้านที่พายเรือมาเที่ยวด้วย เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกัน
ในปี 2551 นี้ จัดวันที่ 10-13 ตุลาคม ณ ที่ว่าการอำเภอบางพลี และวัดบางพลีใหญ่ใน (วัดหลวงพ่อโต) จ.สมุทรปราการ



โยนบัว ปี 51



 

10 ต.ค. 51 นมัสการหลวงพ่อ ณ วัดบางพลีใหญ่ รวมงานย้อนรอยตลาดโบราณบางพลี 151 ปี
11 ต.ค. 51 ชมการตอบปัญหาพะหมี, การแสดงหมากรุกคน
12 ต.ค. 51 ตักบาตรพระทางเรือ, ชมการแข่งขันเรือมาด, การประกวดนวดมือทอง, ประกวดปลาสลิด และอาหารแปรรูปจากปลาสลิด, ประกวดหนุ่ม-สาวรับบัว ประกวดขวัญใจแม่ค้า
13 ต.ค. 51 พิธีเปิดประเพณีรับบัว ประจำปี 51 ชมการแสดงรำกลองยาว ประกวดเรือประเภทสวยงามความคิด ตลกขบขัน แข่งกินข้าวต้มมัด เกมส์กลางแจ้ง
 


 

วันที่เป็นวันสำคัญที่ไม่ควรพลาด จริงๆ คือ 2 วันสุดท้ายของงาน คือ
วันขึ้น 13 ค่ำ และ 14 ค่ำ เดือน 11
วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่มีงานมโหสพ การประกวดต่างๆ ดนตรี เฮฮาตลอดคืน ก่อนจะมีพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการโดยผู้ใหญ่ อาจเป็นรัฐมนตรี และผู้ว่าจังหวัด

ตั้งแต่ตอนเย็นวันขึ้น 13 ค่ำ ชาวอำเภอบางพลี อำเภอเมืองสมุทรปราการ ชาวพระประแดง และชาวต่างถิ่นจะชักชวนพวกเพื่อนฝูงลงเรือพร้อมด้วยเครื่องดนตรีนานาชนิดเช่น ซอ ปี่ กระจับ โทน รำมะนาโหม่ง กรับ ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น พายกันไปร้องรำทำเพลงกันไปซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำน้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่นๆเข้าคลองสำโรงและมุ่งหน้ามายังหมู่บ้านบางพลีใหญ่สำหรับชาวบางพลีนั้นจะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็จะต้องเตรียมหาดอกบัวหลวง สำหรับมอบให้แก่ชาวบ้านที่ต้องการและมิตรต่างถิ่นมาเยือนในโอกาสเช่นนี้ ก็คงแสดงมิตรจิตออกต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกันตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ส่วนพวกที่มารับบัวคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพาขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้ และต่างก็สนุกสนานร้องรำทำเพลงและร่วมรับประทานอาหารสุรากันตลอดคืน พอเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านต่างก็นำเรือของตนออกไปตามลำคลองสำโรงเพื่อไปขอรับบัวจากชาวบ้านบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และการรับดอกบัวก็จะทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับกันมือต่อมือ หรือก่อนให้จะยกมือพนมอธิษฐาน เสียก่อนระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวต่างถิ่นที่สนิทสนมคุ้นเคยกันป็นพิเศษ บางทีชาวบางพลีก็จะโยนดอกบัวลงไปให้กันโดยไม่มีพิธีรีตอง เหตุที่มีการโยนบัวให้กัน แบบมือต่อมือจึงเลือนไปจนมีการนำไปพูดกันตอนหลังว่า รับบัว โยนบัว การรับดอกบัวของชาวต่างบ้านจากชาวบางพลีจะสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ 08.00 น. หรือ 09.00 น. และชาวบ้านก็จะพากันกลับ ตอนขากลับจะมีการแข่งเรือกันไปด้วยแต่เป็นการแข่งขันโดยมีเส้นชัย ไม่มีกรรมการตัดสินและไม่มีการแบ่งประเภทหรือชนิดของเรือ ใครพอใจจะแข่งกับใครเมื่อไหร่ที่ใดก็แข่งกันไปหรือจะเปลี่ยนคู่เปลี่ยนคู่แข่งกันไปเรื่อยๆตามแต่จะตกลงกันดอกบัวที่ชาวต่างถิ่นรับจากชาวบางพลีไปนั้นจะนำไปบูชาในเทศกาลออกพรรษาตามวัดในหมู่บ้านของตน
ประเพณีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ครั้นนานมาชาวต่างถิ่นที่นำเรือมารับดอกบัวจากชาวบางพลีมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ เสียงกระจับ ปี่ สีซอ กลองรำมะนา เสียงเพลงเสียงเฮฮาที่เคยเซ็งแซ่ตามลำคลองสำโรงในคืนวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็ค่อยๆเงียบหายไป
 
 

ต่อมาสมัยนายชื้น วรศิริ (เพชรบูรณะ วรศิริ) เป็นนายอำเภอบางพลี ระหว่าง พ.ศ. 2473-2481 ประเพณีรับบัวมีทีท่าว่าจะเสื่อมสูญไปนั้น ได้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง เมื่อได้หารือกับพ่อค้าคหบดีตลอดจนข้าราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางอำเภอบางพลีจึงได้ตกลงกันดำเนินการจัดงานประเพณีรับบัวขึ้นคือ เริ่มงานวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และรุ่งขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันรับบัวอันเป็นครั้งแรกที่ทางราชการเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีรับบัวของชาวบางพลี
ในการจัดงานประเพณีรับบัวของทางราชการอำเภอบางพลี มีการแต่งเรือประกวด เริ่มมีมาเมื่อ พ.ศ. 2480 (แต่ก่อนชาวต่างถิ่นจะตกแต่งเรือมาเพียงเพื่อความสวยงามแต่ไม่มีการประกวด) ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ช่วยกันหาดอกบัวแจกข้าวต้มมัดแก่แขกต่างบ้านและผู้จัดเรือประกวดในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ประชาชนต่างถิ่นและชาวอำเภอบางพลีจะลงเรือล่องไปตามลำคลองสำโรง ร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานร่วมกัน ชาวบางพลีจะจัดสุราอาหารไว้ต้อนรับแขกต่างบ้าน ชาวต่างถิ่นคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวอำเภอบางพลีคนใดบ้านใดก็จะพากันไปเยี่ยมเยือน สนุกสนานกับชาวบางพลีบ้านนั้นจนรุ่งเช้า วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ต่างก็จะพากันไปดูการประกวดที่คลองสำโรงหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี
 
 

ในการจัดงานประเพณีรับบัวมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ มีการแห่หลวงพ่อโต ซึ่งแต่เดิมยังมิได้มีการแห่ดังเช่นสมัยนี้ ในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๗ นางจั่นกับพวกได้พร้อมใจกันสร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้น ในวัดบางพลีใหญ่ใน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็จัดให้มีการฉลองโดยแห่องค์พระปฐมเจดีย์นี้ตามลำคลอง แล้วกลับมาห่มองค์พระปฐมเจดีย์กลางคืนก็จัดให้มีมหรสพสมโภช แห่ไปได้ 2-3 ปี ก็หยุดไปด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ซึ่งเชื่อว่าการแห่ผ้าห่อองค์พระปฐมเจดีย์นี้ได้รับแบบอย่างมาจากการแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ของอำเภอเมืองสมุทรปราการ ต่อมาก็มีการแห่รูปหลวงพ่อโตแทน โดยความเห็นชอบของท่านสมภารกุ่ย และนายฉลวย งามขำ แห่รูปภาพของหลวงพ่อโตมาหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2485 ก็มีการทำหุ่นจำลองหลวงพ่อโต สานด้วยโครงไม้ปิดกระดาษทาสีทอง แล้วนำแห่แทนรูปภาพของหลวงพ่อโต ซึ่งสร้างโดยนายไสว โตเจริญ ตกกลางคืนก็มีงานมหรสพฉลองกันอย่างครึกครื้นจนถึงสมัยพระครูพิศาลสมณวัตต์เป็นเจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ในก็ได้จัดให้ทำการหล่อรูปหลวงพ่อจำลองขึ้น สำหรับแห่ตามลำคลองด้วยอลูมิเนียมใน พ.ศ. 2497 และปัจจุบันแห่โดยรูปหล่อจำลองหลวงพ่อโต (รูปปั้น) โดยจัดเป็นขบวนแห่ไปตามลำคลองสำโรงในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 เป็นการประกาศข่าวงานรับบัวให้ประชาชนทราบและวิธีนี้กลายเป็นประเพณีแห่หลวงพ่อโตก่อนวันงานรับบัว คือ วัน 13 ค่ำ เดือน 11 ตลอดจนถึงปัจจุบัน การแห่หลวงพ่อโตจึงเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีรับบัว ประชาชนที่อยู่สองฝั่งคลองสำโรงที่ขบวนแห่หลวงพ่อโตผ่านจัดประดับธงทิว ตกแต่งบ้านเรือนและตั้งโต๊ะหมู่บูชา พอเช้าวันรุ่งขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 มีการประกวดเรือประเภทต่างๆของตำบลใกล้เคียงและโรงเรียนส่งเข้าประกวด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2500 มีการจัดประกวด ปัจจุบันการประกวดเรือมี 3 ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทสวยงาม ประเภทความคิด และประเภทขบขันหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น.และงานจะสิ้นสุดลงเวลา 11.00 น. ของวันเดียวกัน ในบางปีจัดให้มีการประกวดเทพีการแข่งเรือ หรืออย่างอื่นแล้วแต่คณะกรรมการ จัดงานรับบัวแต่ละปีจะพิจารณาเห็นสมควร ส่วนการร้องรำทำเพลงไปตามลำน้ำดูหายๆไปจนปัจจุบันไม่มีแล้ว คงเที่ยวสนุกสนานกันตามบริเวณที่จัดให้มีมหรสพเท่านั้น
-------------------
ภาพ องค์หลวงพ่อโตในขบวนเรือแห่รับบัว
 
 

คำสั่งเจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ใน
กำหนดกฎระเบียบต่างๆ
 
 

ข้อ 6 ห้ามดื่ม รหือจำหน่ายสุราเมรัย
ปัจจุบัน ผมเองก็ไม่เห็นมีในงานและนอกงานเลย ต่างจากในสมัยก่อน
หรืออาจเป็นเพราะ แคมเปญ "งดเหล้าเข้าพรรษา" ด้วยกระมัง
------------------------
ภาพ ผู้คนที่มาไหว้หลวงพ่อโต ในงาน
 
 

ชาวบ้านในตลาดน้ำบางพลีเล่าให้ผมฟังว่า
หลวงพ่อโตนี่ ศักดิ์สิทธิ์มาก
หากได้มาในพิธีโยนบัว ขออะไร ก็ได้ทั้งนั้น ควรบนด้วยไข่ต้มถึงจะดี

อันนี้เป็นความเชื่อที่ช่วยจรรโลงวัฒนธรรมอันดีของชาวพุทธ(มอญ)ไว้ตลอดขนบธรรมเนียมต่างๆ ไทยทัวร์ขอร่วมอนุรัษณ์ประเพณีงามอันนี้ไว้ด้วย
--------------
ภาพ หลวงพ่อโตในขบวนเรือ วันที่ 13 ค่ำเดือน 11 ก่อนพีธีแห่ 1 วัน
 
 

ความเป็นมาของประเพณีรับบัว(โยนบัว)
ในสมัยก่อนในแถบอำเภอบางพลี มีประชากรอาศัยอยู่ 3 พวกคือ คนไทย รามัญ และลาว แต่ละพวกจะมีหัวหน้าคอยควบคุมดูแลและทำมาหากินในอาชีพต่างๆกัน ซึ่งชาวรามัญในสมัยนั้นจะขุดบ่อเลี้ยงปลาเป็นอาชีพต่อมาทั้งคนไทย รามัญและลาว ทั้ง 3 พวกก็ปรึกษาหารือกันว่าสมควรจะช่วยกันหักล้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อทำไร่ทำสวนต่อไป บริเวณนี้แต่ก่อนเต็มไปด้วยป่าพงอ้อ พงแขมและไม้นานาชนิดขึ้นเต็มไปหมด ฝั่งทางตอนใต้ของลำคลองสำโรงก็เต็มไปด้วยป่าแสม น้ำก็เป็นน้ำเค็ม ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้ายนานาชนิดทางฝั่งตอนเหนือก็เต็มไปด้วยบึงขนาดใหญ่ ภายในบึงแต่ละบึงก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยบัวหลวงมากมาย พวกคนไทย รามัญและลาว ก็พยายามหักล้างถางพงเรื่อยมาจนถึงทางแยก 3 ทางคือ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นคลองสลุด ทางเหนือเป็นคลองชวดลากข้าว และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นคลองลาดกระบัง คนทั้ง 3 พวกก็ตกลงกันว่าควรจะแยกย้ายกันทำมาหากินคนละทางจะดีกว่าเพื่อที่จะได้รู้ภูมิประเทศว่าด้านไหนจะทำมาหากินได้คล่องดีกว่ากัน เมื่อตกลงดังนั้นแล้วจึงแยกทางกันไปทำมาหากิน โดยพวกลาวไปทางคลองสลุด ไทยไปทางคลองชวดลากข้าว พวกรามัญไปทางคลองลาดกระบัง พวกรามัญทำมาหากินอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผลเพราะนก หนู ชุกชุมรบกวนพืชผลต่างๆจนเสียหายมากมาย เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผลพวกรามัญก็ปรึกษาเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมที่ปากลัด (พระประแดง) เริ่มอพยพกันในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปก็ได้ไปเก็บดอกบัวในบึงบริเวณนี้มากมาย คนไทยที่คุ้นเคยกับพวกรามัญก็ไต่ถามว่าเก็บดอกบัวไปทำไมมากมายเพียงนี้พวกรามัญก็บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพัน (เทศน์มหาชาติ) ที่ปากลัด และได้สั่งเสียกับคนไทยที่รักและสนิทสนมชิดชอบว่าในปีต่อมาเมื่อถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้ช่วยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตนี้ด้วยพวกตนจะมารับ ด้วยนิสัยคนไทยนั้นชอบโอบอ้อมอารีรักพวกพ้องจึงตอบตกลง จากนั้นพวกชาวรามัญก็นมัสการหลวงพ่อโตพร้อมทั้งขอน้ำมนต์หลวงพ่อโตไปเพื่อเป็นศิริมงคลและลากลับถิ่นฐานเดิมที่ปากลัดและนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพันปีต่อมาพอถึงกำหนดเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ คนไทยบางพลีก็รวบรวมดอกบัวไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ตามคำขอร้องของชาวรามัญ พวกชาวรามัญก็จะมารับดอกบัวทุกปี การมาจะมาในเวลากลางคืน มาโดยเรือขนาดจุ 50-60 คน จะมาถึงวัดประมาณตี 1-4 ของทุกครั้งที่มาและมีการตีฆ้องร้องเพลงตลอดทางอย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งมีการละเล่นต่างๆในเรือ ผู้ที่คอยต้อนรับก็พลอยสนุกสนานไปด้วยไมตรีจิตอันดียิ่ง คนไทยได้ทำอาหารคาวหวานต่างๆเลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหารกันเมื่ออิ่มหนำสำราญแล้วก็นำดอกบัวไปมนัสการหลวงพ่อโต จากนั้นก็นำดอกบัวกลับไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด
-------------------------------
ภาพ การเตรียมเรือขบวนแห่หลวงพ่อโต
 
 

ความเป็นไปได้อีก กรณีที่ 2 คือ
ชาวรามัญที่ปากลัด (พระประแดง) มาทำนาอยู่ที่อำเภอบางพลี (ตำบลบางแก้ว) ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่าเป็นชาวรามัญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนีย์) ในสมัยกรุงธนบุรี การอพยพของชาวรามัญครั้งนี้เนื่องจากพระเจ้ามังระ คิดจะมาตีกรุงธนบุรี จึงเกณฑ์พวกรามัญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาช่วยรบ ชาวรามัญนั้นได้รับการกดขี่ข่มเหงจิตใจถูกฆ่าลูกเมีย ชาวรามัญจึงกบฏต่อพม่าโดยรวมตัวกันไปตีพม่าแต่สู้พม่าไม่ได้ ก็หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบารมีต่อพระเจ้าตากสินมหาราชและได้นำเอาปี่พาทย์มอญเข้ามาด้วยเมื่อปี พ.ศ. 2317 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พวกรามัญไปตั้งภูมิลำเนาที่ปากเกล็ด แขวงนนทบุรี และปากโคก แขวงปทุมธานี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงโปรดเกล้าฯให้ย้ายครอบครัวชาวรามัญและพระยาเจ่ง มาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์(พระประแดง) ในปี พ.ศ. 2367 และต่อมาชาวรามัญได้ทำความดีความชอบได้รับพระราชทานที่นาที่บางพลี จึงเป็นเหตุให้ชาวรามัญมาทำนาที่บางพลี ชาวรามัญนั้นจะมาเฉพาะฤดูทำนา เมื่อเสร็จสิ้นการทำนาก็จะกลับที่ปากลัด เมื่อออกพรรษาชาวปากลัดที่มีเชื้อสายรามัญส่วนใหญ่เป็นผู้เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาก็จะกลับไปทำบุญที่วัดบ้านของตน เมื่อกลับก็จะไปเก็บดอกบัวที่ตำบลบางพลีใหญ่ซึ่งมีมากมายในสมัยนั้นไปประกอบเป็น "ดอกไม้ธูปเทียน" ในการทำบุญที่มีการเทศน์คาถาพันส่งท้ายพรรษา ครั้งแรกก็เก็บกันเองต่อมาชาวอำเภอบางพลีเห็นว่าชาวรามัญมาเก็บดอกบัวทุกปี ในปีต่อๆมาจึงเก็บดอกบัวเตรียมไว้ให้ตามนิสัยคนไทยที่ชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ระยะแรกก็ส่งให้กับมือมีการไหว้ขอบคุณ ต่อมาเกิดความคุ้นเคยถ้าใกล้ก็ส่งมือต่อมือ ถ้าไกลก็โยนให้จึง เรียกว่า "รับบัว โยนบัว"
---------------------
ภาพ การเตรียมงานสองฝั่งคลอง
 
 

ความเป็นไปได้กรณีที่ 3 คือ
ตำบลบางพลีใหญ่ในเดิมเป็นตำบลที่มีดอกบัวมาก อำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงเช่น อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง และอำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อถึงวาระต้องบำเพ็ญกุศลในเทศกาลออกพรรษาก็มาเก็บดอกบัวที่นี่ เพราะถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธเจ้าเวลาประทับนั่งยืน เดิน จะมีดอกบัวรองรับเสมอ อีกประการหนึ่งในเรื่องพระมาลัยได้กล่าวว่ามีชายเข็ญใจคนหนึ่งได้ถวายดอกบัวแก่พระมาลัย ยังไปเกิดเป็นเทพบุตรได้ ดังนั้นในสมัยโบราณคนจึงนิยมถวายดอกบัวแก่พระในวันออกพรรษาถือว่าได้บุญกุศลแรงมาก ถึงกับลงทุนนอนค้างอ้างแรมยังตำบลนี้เพื่อเก็บดอกบัว ในสมัยแรกๆ คงเที่ยวหาเก็บกันเองแต่ในสมัยต่อมาชาวบางพลีก็จะเตรียมเก็บไว้เพื่อเป็นการทำกุศลร่วมกันเท่านั้น
----------------------------------
ภาพ นาคที่หัวขบวนเรือของหลวงพ่อโต
 
 

มีกิจกรรมมากมายในงานโดยเฉพาะวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11
ที่ไม่ควรพลาดคือ
การแข่งเรือ
การชมการประกวด สาวงาม-หนุ่มหล่อชาวรามัญ
--------------------
ภาพการแข่งเรือ
 
 

การแข่งเรือ แข่งทีละ 2 ทีม ขนาดไปตามลำคลอง
กำหนดเส้นชัยหน้าวัด
ผู้ชนะได้รางวัลพร้อมถ้วยพระราชทาน
 
 

ประมวลภาพการแข่งเรือ เมื่อเข้าเส้นชัย
 
 

เมื่อมีผู้ชนะย่อมมีผู้แพ้
เพียงเสี้ยววินาทีขณะเข้าเส้นชัย
ความรู้สักต่างกันเยอะ http://www.thai-tour.com/attraction/%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5/
 
 

1 ความคิดเห็น: